วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

คณะในฝัน


คณะนิเทศสาขาประชาสัมพันธ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เปิดสอนวิชาการหนังสือพิมพ์ขึ้นตั้งแต่ พ.ศ. 2482 ซึ่งเป็นหลักสูตรในระดับอนุปริญญา สังกัดในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2497 ได้มีการโอนการศึกษาวิชาการหนังสือพิมพ์จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ไปทำการสอนที่มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง โดยได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ซึ่งเป็นการสิ้นสุดการสอนในสาขานิเทศศาสตร์ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยตั้งแต่นั้นมา[1]
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดการเรียนการสอนในสาขาวิชานิเทศศาสตร์อีกครั้งในแผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์ สังกัดอยู่กับคณะรัฐศาสตร์ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2508 ดังนั้น จึงถือเอาวันที่ 5 กรกฎาคมของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนาคณะนิเทศศาสตร์ หลักจากนั้น ในปี พ.ศ. 2509 ได้พระราชกฤษฎีกาจัดตั้ง "แผนกสื่อสารมวลชนและการประชาสัมพันธ์" ซึ่งเป็นแผนกอิสระ มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่งในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีสีน้ำเงิน (Royal Blue) เป็นสีประจำแผนกอิสระฯ และมีสัญลักษณ์เป็นแตรสังข์ ต่อมาจึงได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "คณะนิเทศศาสตร์" เมื่อปี พ.ศ. 2517 นับเป็นคณะที่ 14 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ศ.บำรุงสุข สีหอำไพ เป็นคณบดีคนแรก
ปัจจุบันคณะนิเทศศาสตร์ ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของถนนพญาไท (ตรงข้ามกับคณะวิทยาศาสตร์) ในพื้นที่บริเวณเดียวกับคณะนิติศาสตร์ โดยมีอาคารทำการของคณะฯ 3 อาคาร คือ อาคารนิเทศศาสตร์ 1 อาคารนิเทศศาสตร์ 2 และอาคารมงกุฎสมมติวงศ์ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง เป็นอาคารสูง 12 ชั้น เพรียบพร้อมไปด้วยอุปกรณ์ทางการสื่อสารมวลชนที่ทันสมัย คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปีการศึกษา 2553 และอาคารพินิตประชานาถซึ่งเป็นอาคารเรียนส่วนกลางของมหาวิทยาลัยซึ่งใช้ร่วมกับ คณะนิติศาสตร์



ดำเนินการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีตั้งแต่ปีการศึกษา 2532 วางมาตรฐานการศึกษาที่มุ่งคุณภาพทางวิชาการ และการ เตรียมความพร้อมให้นักศึกษามีความรู้ ความชำนาญในการฝึกปฏิบัติงานจริงตามสาขาวิชาที่ได้เรียน เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ สามารถปฏิบัติงานได้ทันที
แนวทางการศึกษาต่อ
นิเทศศาสตรบัณฑิตสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งในและต่างประเทศ ทั้งด้านนิเทศศาสตร์ การสื่อสารมวลชนหรือสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น บริหารธุรกิจ การตลาด เศรษฐศาสตร์ คอมพิวเตอร์กราฟฟิก เป็นต้น แนวทางในการประกอบอาชีพ นิเทศศาสตรบัณฑิตสามารถทำงานได้ทั้งในบริษัทเอกชนและหน่วยงานของรัฐเป็นนักโฆษณา นักประชาสัมพันธ์ นักการตลาด นักวิจัย นักวิเคราะห์และวางแผน พิธีกร ดีเจ นักแสดง คนเขียนบท ตัดต่อ ผู้กำกับ นักข่าว ช่างภาพ ผู้อำนวยการสร้าง บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ ฯลฯ นักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ทุกคนจะได้เรียนวิชาพื้นฐานทางนิเทศศาสตร์ทุกสาขาวิชา เรียนวิชาโทหรือ วิชาเลือกที่มีหลากหลาย สามารถประกอบอาชีพได้ในทุกสาขาวิชาชีพนิเทศศาสตร์ นอกจากนี้นักศึกษายังต้องเรียนวิชาพื้นฐาน ความรู้ด้านธุรกิจเพื่อเพิ่มความสามารถและทางเลือกในการประกอบ ธุรกิจส่วนตัว ห้องปฏิบัติการทางนิเทศศาสตร์
มีความพร้อมในการบริการเพื่อสร้างเสริมทักษะการใช้เครื่องมืออุปกรณ์ด้วยสตูดิโอถ่ายทำรายการ โทรทัศน์และห้องควบคุมที่ทันสมัย ห้องตัดต่อเทปโทรทัศน์ระบบ Non-Linear Editing Network ที่สามารถโอนถ่ายข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งข้อมูลเสียงจากชุดคอมพิวเตอร์ตัดต่อเสียงของห้องบันทึกเสียง ห้องปฏิบัติการ BCM (Business Communication Management) จำลองการปฏิบัติงานของ กองบรรณาธิการ สำนักพิมพ์ โต๊ะข่าว และการเรียนการสอนงานกราฟริกคอมพิวเตอร์ด้วยเครื่อง Macintoch เทคโนโลยีการพิมพ์ล่าสุดเพื่อผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ ออกแบบจัดหน้าสิ่งพิมพ์ ตกแต่งภาพ และการออกแบบสร้างเว็บเพจ ห้องปฏิบัติการถ่ายภาพที่จัดเตรียมชุดไฟแฟลชถ่ายภาพสำหรับ ดิจิตอลสตูดิโอควบคุมด้วยระบบคลื่นวิทยุ นักศึกษาสามารถตกแต่งและแก้ไขภาพได้หลายรูปแบบตามจินตนาการด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วในการประมวลผลสูงสุด และเรียนรู้พื้นฐานการล้างอัดขยายภาพจากฟิล์มขาวดำในห้องปฏิบัติการถ่ายภาพ ห้องบันทึกเสียงที่สามารถเรียงร้อยเสียงด้วยระบบดิจิตอล และบริษัทโฆษณาเสมือนจริง(Vertual Asventising Aquncy) เพื่อรับรองการสร้างสรรค์งานผลิตรายการวิทยุกระจายเสียง และนำความรู้จากห้องเรียนสู่ประสบการณ์จริงในการผลิตรายการวิทยุเพื่อออกอากาศบนคลื่นความถี่ FM 91.25 MHZ สถานีวิทยุชุมชนมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์


มีความสนใจจะเข้าสาขา..



• สาขาวิชาการประชาสัมพันธ์ มุ่งสอนนักศึกษาให้มีความรู้ ความคิดสร้างสรรค์ และมีทัศนคติที่ดีต่องานประชาสัมพันธ์ยุคใหม่ โดยนักศึกษาได้รับทั้งความรู้ในทางทฤษฎีและทักษะในทางปฏิบัติ เน้นการประชาสัมพันธ์สมัยใหม่และการสื่อสารองค์กรเชิงบูรณาการ (Integrated Organization Communication : ICO) ฝึกให้มีความสามารถในการหาข้อมูล การวิจัยและวางแผนสื่อสาร การประเมินผล หลักการจูงใจ การวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย เทคนิคการผลิตและการใช้สื่อเพื่อการประชาสัมพันธ์ทุกรูปแบบ รวมทั้งการนำเสนอด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมต่างๆอย่างครบถ้วน ให้การส่งเสริมการเข้าร่วมประกวดแผนประชาสัมพันธ์ร่วมกับหน่วยงานภายนอก นอกจากนี้ยังสอนและฝึกปฏิบัติในการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีของนักประชาสัมพันธ์ ฝึกฝนทักษะในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของนักประชาสัมพันธ์มืออาชีพ เพื่อเป็นบัณฑิตที่เต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพและจริยธรรม พร้อมก้าวสู่วิชาชีพนักประชาสัมพันธ์ในอันที่จะเป็นกำลังสำคัญของหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน • สาขาวิชาการโฆษณา มุ่งสอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับงานด้านโฆษณา และสร้างกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง โดยทีมคณาจารย์และนักโฆษณามืออาชีพจากบริษัทโฆษณา มีชื่อเสียงของประเทศไทย นักศึกษาจะได้รับความรู้ซึ่งเชื่อมโยงไปสู่การปฏิบัติและฝึกทักษะการวางแผนโฆษณาทุกขั้นตอน ทั้งการวางกลยุทธ์ (Advertising Strategy) เพื่อกำหนดแนวทางโฆษณา การคิดสร้างสรรค์งานโฆษณา การผลิตงานโฆษณาทางสื่อต่างๆ ด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย นักศึกษาจะได้ฝึกการออกแบบงานโฆษณาสิ่งพิมพ์ (Print Advertisement) โดยใช้เครื่อง Macintosh ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้สำหรับการออกแบบโดยเฉพาะ ฝึกการผลิตบทโฆษณาทางวิทยุกระจายเสียง (Radio Spot) ในห้องปฏิบัติการทางวิทยุ รวมถึงการฝึกการผลิตภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์ (Television Commercial) โดยเน้นทั้งการถ่ายทำและการตัดต่อในห้องปฏิบัติการโทรทัศน์ สาขาการโฆษณายังมีบริษัทโฆษณาเสมือนจริง (Virtual Advertising Agency) ให้นักศึกษาได้ฝึกฝนหาประสบการณ์เพิ่มเติม รวมทั้งการจัดกิจกรรมสร้างหลักสูตรเพื่อให้นักศึกษาได้ก้าวทันข่าวสารและการเปลี่ยนแปลง ในแวดวงโฆษณา เพื่อเพิ่มศักยภาพให้นักศึกษาพร้อมสู่วิชาชีพโฆษณาต่อไป • สาขาวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ มุ่งสอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติเกี่ยวกับสื่อสารมวลชน โดยเน้นวิทยุกระจายเสียงและโทรทัศน์ นักศึกษาจะได้ฝึกการจัดรายการทั้งในห้องปฏิบัติการทางวิทยุฯ และการฝึกจัดรายการสดออกอากาศจริงทาง FM 91.25 MHZ วิทยุชุมชนมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ - ชุมชนชนเขตหลักสี่ ฝึกการเป็นผู้ประกาศและพิธีกรในรายการทางวิทยุกระจายเสียงและฝึกการผลิตรายการทางโทรทัศน์การวิเคราะห์วิจัยสื่อสารมวลชน การวางแผนและประเมินผลสื่อสารมวลชน การเขียนข่าว การสื่อข่าว การเขียนบท การบันทึกภาพด้วยกล้องโทรทัศน์ การตัดต่อ การกำกับ การจัดฉากจัดแสงและเสียง รวมทั้งการผลิตภาพยนตร์ มุ่งเน้นการฝึกในห้องปฏิบัติการทางสื่อสารมวลชนที่ทันสมัยด้วยระบบคอมพิวเตอร์ที่มีความพร้อมเทียบเท่ากับสถานีวิทยุและโทรทัศน์ชั้นนำของประเทศ • สาขาวิชาวารสารศาสตร์ มุ่งสอนแบบบูรณาการระหว่างวิชาการและวิชาชีพ โดยทีมคณาจารย์ที่ประกอบด้วยนักวิฃาการทางด้านวารสารศาสตร์และสื่อสิ่งพิมพ์โดยตรง และนักวิชาชีพที่มีชื่อเสียงในวงการวารสารศาสตร์และสื่อสิ่งพิมพ์ของประเทศไทย เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ทางด้านทฤษฎีมาใช้ได้อย่างถูกต้องและแท้จริงกับการทำงานในวิชาชีพ และสอดรับกับความเป็นจริงในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นตั้งแต่กระบวนการคิด กระบวนการได้มาซึ่งข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนความคิดจนถึงกระบวนการถ่ายทอดความคิดออกมาเป็นตัวหนังสือหรือรูปภาพ ที่ไปด้วยกันอย่างดีกับจรรยาบรรณในวิชาชีพวารสารศาสตร์ นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากการปฏิบัติงานจริงในห้องปฏิบัติการ " บีซีเอ็ม " ที่เสมือนกองบรรณาธิการจริง พร้อมอุปกรณ์ทันสมัยครบถ้วน เพื่อผลิตหนังสือพิมพ์ ฝึกปฏิบัติบัณฑิตย์โพสท์ นิตยสาร วารสาร และหนังสือเล่ม • สาขาวิชาภาพยนตร์และสื่อดิจิทัล สอนให้นักศึกษาเรียนรู้กระบวนการผลิตภาพยนตร์ประเภทต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์บันเทิง ภาพยนตร์สารคดี ภาพยนตร์ทดลอง ภาพยนตร์แอนิเมชัน ในโรงถ่ายภาพยนตร์คุณภาพ ที่เพียบพร้อมด้วยระบบการถ่ายทำ และตัดต่อแบบ "ดิจิตอล มีเดีย" อันเป็นระบบที่ใช้กันในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มืออาชีพปัจจุบัน นอกจากนี้ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ ทฤษฎีภาพยนตร์ การวางแผนการสร้างภาพนยตร์ การกำกับ รวมทั้งวิชาเลือกเฉพาะทางตามความถนัดของนักศึกษา อาทิ การแต่งหน้าและเทคนิคพิเศษสำหรับงานภาพยนตร์ การออกแบบแสง ฉาก และเครื่องแต่งกาย คอมพิวเตอร์กราฟฟิกและสเปเชียลเอฟเฟค ภายใต้การดูแลของคณาจารย์จากทั้งแวดวงวิชาการ และวิชาชีพที่มีชื่อเสียง เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับนักศึกษาให้ก้าวสู่ในวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างมั่นใจ เยี่ยมชมเว็บไซต์คณะนิเทศศาสตร์









วันเสาร์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2553